ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 14?04?32?N 100?37?02?E? / ?14.07559?N 100.61722?E? / 14.07559; 100.61722 • ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะนิติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยหลายครั้งหลายครา กับทั้งได้สนองความต้องการของสังคมตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสมอมา ปัจจุบันคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือกำเนิดขึ้นจากการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายใน พ.ศ. 2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ครั้งมีพระยศที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ เพื่อให้การศึกษาอบรมด้านนิติศาสตร์โดยเฉพาะซึ่งไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ครั้งนั้นมีสถานะเป็นแต่โรงเรียนอันมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ กระนั้นก็ได้มีแจ้งความของโรงเรียนเกี่ยวกับกำหนดการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวราชการด้วย สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนกฎหมายนั้นได้แก่ห้องเสวยของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมซึ่งอยู่ถัดจากห้องทรงงาน โดยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เองเมื่อทรงเสร็จสิ้นการเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว ครั้นมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการย้ายไปทำการเรียนการสอนยังตึกสัสดีหลังกลาง กระทรวงยุติธรรม

พ.ศ. 2453 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หลังจากนั้นโรงเรียนกฎหมายก็ทรุดโทรมตามลำดับ และต้องไปเปิดทำการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร และที่เรือนไม้หลังเล็ก ๆ ระหว่างตึกศาลแพ่งกับตึกเก๋งจีนซึ่งบัดนี้ทำลายลงเสียแล้ว

พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับโรงเรียนกฎหมายไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม และให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียนนี้ โดยสถานที่เรียนนั้นย้ายมายังตึกกรมประชาสัมพันธ์เดิมบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา

พ.ศ. 2475 เมื่อมีการปฏิวัติสยามโดยคณะราษฎร รัฐบาลได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย แล้วให้โอนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ไปสมทบกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 เมษายน ปีนั้นเอง ครั้งนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้การเรียนการสอนของโรงเรียนกฎหมาย เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะดังกล่าว โดยผู้สำเร็จหลักสูตรนิติศาสตร์ได้รับเพียงประกาศนียบัตร หากต้องการเป็นเนติบัณฑิตต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาอีกชั้นหนึ่ง อนึ่ง ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะดังกล่าวขึ้นใหม่ โดยแยกออกเป็นคณะรัฐศาสตร์คณะหนึ่ง และคณะนิติศาสตร์อีกคณะหนึ่ง ทั้งนี้ การโอนไปสมทบดังกล่าวเป็นแต่ทางนิตินัย ทว่าโดยพฤตินัยแล้ว ยังคงจัดการเรียนการสอนยังคงอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาเช่นเดิม

พ.ศ. 2476 สภาผู้แทนราษฎรได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ปีนั้น และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีเดียวกัน โดยความสำคัญว่า

มาตรา 4 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่ง เรียกว่า 'มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง' มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่น ๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง

มาตรา 5 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้น มาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477

เมื่อแรกสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ไม่ได้มีการแยกเป็นคณะ ๆ ต่าง ๆ ดังปัจจุบัน หากมีแต่การเรียนการสอนที่เรียกว่า "ธรรมศาสตรบัณฑิต" อักษรย่อว่า "ธ.บ." จัดการเรียนการสอนแต่วิชาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476

พ.ศ. 2492 วันที่ 14 มิถุนายน ปีนั้น ได้มีการแยกหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตออกเป็นคณะวิชาสี่คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี การศึกษาระดับปริญญาตรีมีสี่ปี นอกจากนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ก็ได้รับการปรับปรุงโดยให้เริ่มวิชาภาษาต่างประเทศและเน้นหนักไปในทางปฏิบัติให้เหมาะสมแก่การประกอบ

พ.ศ. 2512 คณะนิติศาสตร์เริ่มสร้างอาจารย์ประจำคณะ โดยดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ และได้จัดสรรทุนการศึกษาสำหรับส่งอาจารย์ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ในระดับสูงในต่างประเทศ ในระยะเริ่มต้นคณะได้จัดสรรทุนธรรมศาสตร์และทุนจากสมาคมธรรมศาสตร์ให้แก่อาจารย์คณะนิติศาสตร์เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกโดยมีวัตถุประสงค์ให้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่คณะนิติศาสตร์ ซึ่งในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา คณะก็ได้รับทุนการศึกษาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ทุน ก.พ. ทุนโอเซี่ยนนิคและสุวรรณมาศ ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส ทุนอานันทมหิดล สาขาธรรมศาสตร์ เป็นต้น

พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนอีกครั้ง โดยนำระบบหน่วยกิตและการวัดผลแบบใหม่เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัย ยังผลให้หลักสูตรทั้งปวงของคณะนิติศาสตร์ก็ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับระบบของมหาวิทยาลัย เว้นแต่วิธีการวัดผลการศึกษาซึ่งยังใช้ระบบคะแนนดังเดิม โดยถือเป็นเพียงคณะเดียวในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้ระบบคะแนนเฉลี่ย ไม่ใช่ระบบเกรดเฉลี่ย

พ.ศ. 2515 คณะนิติศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรนิติศาสตร์สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากสาขาอื่นมาแล้ว เรียกว่า "หลักสูตรชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต" โดยเข้าศึกษาเฉพาะวิชาบังคับ ตามหลักสูตรชั้นปริญญาตรีชั้นปีที่สอง ปีที่สาม และปีที่สี่ ของคณะนิติศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีศักดิ์และสิทธิเป็น "นิติศาสตรบัณฑิต" แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสมอกันกับผู้สำเร็จหลักสูตรปรกติ

พ.ศ. 2549 ผลจากมติสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ได้ทำการย้ายการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ ทั้งหมดมาทำการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดย นักศึกษา รหัส 4901XXXXXX ถือเป็นรหัสแรกที่ต้องศึกษา ณ ศูนย์รังสิต ตลอดหลักสูตรการศึกษา เว้นแต่ภาคฤดูร้อนที่ต้องกลับไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

พ.ศ. 2552 คณะนิติศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นรุ่นแรก ตามนโยบายการกระจายการศึกษาวิชานิติศาสตร์สู่ท้องถิ่น ในเบื้องต้นเปิดรับนักศึกษาจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยรับด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกตรง (สอบตรง) จากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ จำนวน 150 คน และผ่านระบบรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศอีก 50 คน และในปีเดียวกันนี้ได้ปิดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางลงด้วย

ปัจจุบัน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นคณะในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นอันดับที่สองของประเทศโดยรองจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีและผู้รักษาการแทนคณบดีเป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะรับตำแหน่ง

นอกจากหน่วยงานที่ตอบสนองภารกิจพื้นฐานของคณะนิติศาสตร์แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นอีก 3 หน่วยงาน คือ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดให้มีการอบรมความรู้ด้านกฎหมายเฉพาะด้านหลายโครงการแก่บุคคลทั่วไปหรือผู้สนใจ ซึ่งประกอบไปด้วย

นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์ (Bachelor of Laws Programme : LL.B) ประกอบด้วย วิชาเฉพาะด้านใน 4 สาขา ดังนี้

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรบัณฑิต โดยมิได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในระดับปริญญาโท หากแต่เป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะที่สมบูรณ์ในตัวเอง การศึกษาตามโครงการนี้จะเน้นให้ศึกษาได้มีความรู้ ทั้งทางด้านกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติที่เป็นอยู่โดยจะศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละเรื่องในทางปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) (Master of Laws Programme : LL.M) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทโดยเกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ พ.ศ. 2477 และได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้โดยตลอด การปรับปรุงครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยประกอบไปด้วยสาขาวิชาดังต่อไปนี้

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (น.ด.) (Doctor of Laws Programme : LL.D.) เช่นเดียวกันกับหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เปิดสอนเป็นสถาบันแรกของประเทศไทยเช่นเดียวกัน และได้จัดการเรียนการสอนตลอดมา และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2539 โดยผู้สมัครเป็นผู้เสนอหัวข้อให้บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ เป็นผู้พิจารณาวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีความสัมพันธ์ในด้านความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษานิติศาสตร์ในต่างประเทศหลายสถาบัน เช่น

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดระบบกิจกรรมนักศึกษา โดยให้นักศึกษามีอิสระในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งมีคณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมหลัก ทั้งนี้ ยังประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ ภายในคณะอีกด้วยที่มีคณะกรรมการนักศึกษาฯ เป็นผู้ประสานงาน

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันรพีเป็นประจำในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับอุดมศึกษาชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และระดับมัธยมศึกษาชิงถ้วยรางวัลประทานพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา การแสดงศาลจำลอง การเสวนาวิชาการ การแนะแนวการศึกษา ลานน้ำชาปัญญาชน ห้องประวัติศาสตร์เดือนตุลา การจัดแสดงนิทรรศการวิชาการ และการจัดขบวนเชิญพวงมาลาไปถวายสักการะพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ณ ลานพระรูปหน้าศาลยุติธรรม

นอกจากนี้ ในแต่ละปียังมีการคัดเลือกนักศึกษาจำนวนแปดคน เป็นชายสี่คน และหญิงสี่คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากนักศึกษาด้วยกันเองให้เป็น "ทูตกิจกรรมงานวันรพี" หรือที่นิยมเรียกว่า "ทูตรพี" อีกด้วย ทูตกิจกรรมงานวันรพีนั้นมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมทั้งปวงและมีหน้าที่เชิญพวงมาลาไปวางหน้าพระรูปพร้อมกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยตามกำหนดการ

งานวันรพีของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มักได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน เนื่องจากมีการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ และผู้ร่วมเสวนามักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีชื่อเสียงในสังคม

โต๊ะ หมายถึง นักศึกษาที่ได้รับการจัดเป็นกลุ่ม ซึ่งมีธรรมเนียมว่า นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีหนึ่ง ให้เลือกโต๊ะของตนด้วยการจับสลากในวันรับเพื่อนใหม่นิติศาสตร์ ธรรมเนียมนี้ริเริ่มอย่างเป็นรูปเป็นร่างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 ปัจจุบัน มีโต๊ะทั้งสิ้นยี่สิบห้าโต๊ะ ดังนี้

พ.ศ. 2553 คณะอนุกรรมการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดให้มีโต๊ะขึ้น ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ทั้งสิ้นสิบสองโต๊ะ ดังนี้

ระบบการจัดการและธรรมเนียมเฉพาะของแต่ละโต๊ะมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ที่มีการจัดโต๊ะเพื่อให้สมาชิกโต๊ะดูแลช่วยเหลือกันตามอัธยาศัย ส่วนนักศึกษาที่เป็นสมาชิกโต๊ะรุ่นก่อนหน้าก็จะให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ แก่รุ่นน้อง โดยอาจจัดให้มีรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องเป็นราย ๆ ไป และไม่ใช้ระบบรหัสนักศึกษา ซึ่งสมาชิกภาพของสมาชิกโต๊ะนั้นสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกผู้นั้นแสดงเจตนาขอถอนตัวต่อกลุ่มโต๊ะ หรืออาจสิ้นสุดลงเมื่อขาดการติดต่อกับโต๊ะโดยสิ้นเชิง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180